คำถามทั่วไปเกี่ยวกับการรับบริการ

ท่านสามารถค้นหารายละเอียดผลิตภัณฑ์ รายการทดสอบ/สอบเทียบได้จาก website onestop.most.go.th หรือสอบถามข้อมูลได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1313

ส่งตัวอย่าง ณ จุดบริการรับส่ง-ตัวอย่างทดสอบ/สอบเทียบ ของ วท ที่ท่านต้องการ ได้แก่

วันจันทร์-ศุกร์ เวลาราชการ 08.30-16.30 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์

ผู้รับบริการติดต่อ ณ จุดบริการรับส่ง-ตัวอย่าง จุดเดียว กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะบูรณาการการทำงานร่วมกันของห้องปฏิบัติการ เสมือนเป็นห้องปฏิบัติการเดียว ออกรายงานเป็นฉบับเดียวกัน

ผู้รับบริการสามารถติดตามสถานการณ์ทดสอบ/สอบเทียบได้จาก website onestop.most.go.th

คำถามเกี่ยวกับตัวอย่างเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (กรมวิทยาศาสตร์บริการ)

ห้องปฏิบัติการ วศ. สามารถทดสอบปริมาณ ความชื้น (Moisture) เถ้า (Ash) สารที่ระเหยได้ (Volatile matter) คาร์บอนคงตัว (Fixed carbon) คาร์บอน (Carbon) ไฮโดรเจน (Hydrogen) ไนโตรเจน (Nitrogen) กำมะถัน (Sulfur) ออกซิเจน (Oxygen) ค่าความร้อนแบบกรอส (Gross calorific value) ค่าความร้อนแบบเนท (Net calorific value)

ตัวอย่างชีวมวลที่จะส่งทดสอบควรมีสภาพแห้ง เพราะตัวอย่างที่มีเปียกหรือมีความชื้นสูงบางครั้งเกิดการบูดเน่าหรือขึ้นราก่อนที่ห้องปฏิบัติการจะทำการทดสอบ และควรตัดหรือบดตัวอย่างให้มีขนาดเล็ก (ห้องปฏิบัติการไม่มีเครื่องบดขนาดใหญ่) โดยเตรียมตัวอย่างประมาณ 0.5 กก. บรรจุในภาชนะที่แห้งและปิดสนิท พร้อมปิดฉลากระบุชื่อตัวอย่างให้ตรงกับที่ระบุในใบคำร้องฯ

การส่งตัวอย่างแอลกอฮอล์แข็งสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงไปทดสอบที่กรมวิทยาศาสตร์บริการแบ่งเป็น 2 กรณี

  • กรณีที่ผู้ผลิตต้องการนำผลการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เพื่อประกอบการขอรับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมาย มอก. จาก สมอ.
  • กรณีที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายแล้ว และถูก สมอ. สุ่มตรวจตามระยะเวลาที่กำหนด

ทั้ง 2 กรณีต้องเตรียมตัวอย่าง ดังนี้

  • เตรียมตัวอย่าง 2 ชุดๆ ละ 2 ภาชนะบรรจุ แต่ละชุดต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 500 กรัม
  • ตัวอย่างต้องอยู่ในภาชนะที่ปิดสนิทสามารถป้องกันการระเหยได้
  • มีฉลากชี้บ่ง ชื่อหรือเครื่องหมายของตัวอย่าง วันที่ผลิต น้ำหนักสุทธิ

รายการที่ให้บริการทดสอบแอลกอฮอล์แข็งสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง และ ค่าธรรมเนียมเป็นดังนี้

คำถามเกี่ยวกับตัวอย่างน้ำดื่ม / น้ำผ่านเครื่องกรอง (กรมวิทยาศาสตร์บริการ)

ส่งตัวอย่างน้ำทดสอบตามมาตรฐานน้ำดื่ม ได้แก่ มอก. 257 หรือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 61และ135 โดยทดสอบทั้งทางเคมี และจุลชีววิทยา

  • ทดสอบทางเคมี เตรียมตัวอย่างน้ำประมาณ 5 ลิตร (เตรียมภาชนะเอง)
  • ทดสอบทางจุลชีววิทยาต้องมารับขวดปลอดเชื้อที่กรมฯ โดยโทรจองขอรับขวดฯ เพื่อเก็บตัวอย่างน้ำก่อนที่เบอร์โทร 0-2201-7198-9
  • หากต้องการทดสอบทุกรายการส่งตัวอย่างวันจันทร์-วันพุธ เวลา 8.30-12.00 น.
  • แต่ถ้าไม่ต้องการทดสอบทางจุลชีววิทยาส่งตัวอย่างวันจันทร์-วันพฤหัสบดี หรือก่อนวันหยุดนักขัตฤกษ์ 2 วัน เวลา 8.30-16.30 น.
  • ระยะเวลาทดสอบประมาณ 30 วันทำการ

คำถามเกี่ยวกับการให้บริการ (สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย)

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย มีสถานที่รับงาน ดังนี้

  1. ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
    นิคมอุตสาหกรรมบางปูซอย 1 ถ.สุขุมวิท ต.บางปูใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
    โทรศัพท์ 0 2323 1672-80 โทรสาร 0 2323 9165 Email : mtc@tistr.or.th
  2. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
    196 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
    โทรศัพท์ 0 2579 1121-30 ต่อ 5217, 5219 โทรสาร 0 2579 8592 Email : sumalee@tistr.or.th
  3. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
    เทคโนธานี ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
    โทรศัพท์ 0 2577 9344, 0 2577 9301 โทรสาร 0 2577 9344 Email : rumpai@tistr.or.th
  4. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานการนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร
    โทรศัพท์ 0 384 5709 Email : dampiga@tistr.or.th
  5. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
    โโทรศัพท์ 0 384 5709 Email : dampiga@tistr.or.th

หักไม่ได้ เนื่องจากหน่วยงานที่ได้รับการยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยมีบริการแบบเร่งด่วน โดยมีอัตราค่าบริการ 2 เท่าของอัตราค่าบริการปกติ กรุณาสอบถามเพิ่มเติม

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยมีบริการบริการรับ-ส่ง ตัวอย่าง และ เครื่องมือในพื้นบริการโดยสามารถติดต่อนัดหมายเจ้าหน้าที่ได้ที่สถานที่รับงานทั้ง 5 แห่ง

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยมีบริการแจ้งเตือนล่วงหน้า ก่อนครบกำหนดการสอบเทียบ 1 เดือน

ยื่นคำขอบริการ และ เจ้าหน้าที่จะติดต่อนัดหมายวันสอบเทียบ

ทำได้ กรณีวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (เมื่อต้องการทราบว่าในตัวอย่างหรือผลิตภัณฑ์ประเภทหรือชนิดหนึ่งๆ มีธาตุหรือสารประกอบที่เป็นส่วนผสมทางเคมีหลักๆ อะไรบ้าง จะใช้วิธีวิเคราะห์เชิงคุณภาพตรวจวิเคราะห์)

หากเป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ลูกค้าจำเป็นต้องระบุว่าต้องการวิเคราะห์หาสารอะไรบ้าง(เมื่อต้องการทราบว่ามีธาตุหรือสารประกอบที่เป็นส่วนผสมทางเคมีหลักๆ อยู่เท่าใดในตัวอย่างประเภทหรือชนิดหนึ่งๆ จะใช้วิเคราะห์เชิงปริมาณตรวจวิเคราะห์)

www.tistr.or.th/mtc หรือ website สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม www.tisi.go.th

  • ห้องปฏิบัติการมาตรฐานทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ Accreditation No. CALIBRATION 0037
  • ห้องปฏิบัติการมาตรฐานทางแสงและอุณหภูมิ Accreditation No. CALIBRATION 015
  • ห้องปฏิบัติการมาตรฐานวิศวกรรมทางกล Accreditation No. CALIBRATION 0060
  • ห้องปฏิบัติการทดสอบทางฟิสิกส์ Accreditation No. TESTING 0195
  • ห้องปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์ Accreditation No. TESTING 0002

website กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ www.dmsc.moph.go.th

  • ห้องปฏิบัติการชีวเคมีและจุลชีววิทยา Accreditation Number 1105/50

ตัวอย่างเป็น ผง ขนาด 200 g จำนวน 5 แพ็ค และขอให้ระบุ อัตราส่วนการละลายด้วย

ตัวอย่างเป็น น้ำ (พาสเจอร์ไรส์) ขนาด 200 ml จำนวน 12 ขวด

การส่งตัวอย่างขอให้ส่งวันจันทร์-วันอังคาร กรณี สเตอไรด์ ส่งตัวอย่างตามปกติ

ตัวอย่างเป็น ชิ้น/ผง จำนวนตัวอย่าง 12 กระป๋อง/ขวด

ตัวอย่างเป็นผง ปริมาตร 200 กรัม จำนวน 5 แพ็ค

ตัวอย่างเป็น ผง ขนาดปริมาณ 200 g จำนวน 5 แพ็ค และขอให้ระบุ อัตราส่วนการละลายด้วย

ตัวอย่างเป็น น้ำ (พาสเจอร์ไรส์) ขนาด 200 ml จำนวน 12 ขวด

การส่งตัวอย่างขอให้ส่ง วันจันทร์-วันอังคาร กรณี สเตอริไลด์ ส่งตัวอย่างตามปกติ

ปริมาณที่ใช้ 12 แพ็ค/ตัวอย่าง

100 กรัม จำนวน 5 แพ็ค

ตัวอย่างเป็น ผง ขนาดปริมาณ 200 g จำนวน 5 แพ็ค และขอให้ระบุ อัตราส่วนการละลายด้วย

ตัวอย่างเป็น น้ำ (พาสเจอร์ไรส์) ขนาด 200 ml จำนวน 12 ขวด

การส่งตัวอย่างขอให้ส่ง วันจันทร์-วันอังคาร กรณี สเตอริไลด์ ส่งตัวอย่างตามปกติ